ระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพ

1. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (Aerobic Wastewater Treatment)

เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ หรือใช้ออกซิเจน (aerobic wastewater treatment) และการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ หรือไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic wastewater treatment)

         ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)

              เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม บ่อปรับเสถียรสามารถบำบัดน้ำเสียจากชุมชน หรือโรงงานบางประเภท เช่น โรงงานผลิตอาหาร โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น และเป็นระบบที่มีค่าก่อสร้างและค่าดูแลรักษาต่ำ วิธีการเดินระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ควบคุมระบบไม่ต้องมีความรู้สูง แต่ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างมากจึงเป็นระบบที่เหมาะกับชุมชนที่มีพื้นที่เพียงพอและราคาไม่แพง ซึ่งโดยปกติระบบบ่อปรับเสถียรจะมีการต่อกันแบบอนุกรมอย่างน้อย 3 บ่อ

 

         ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)

              เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์ สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ 80-95% โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic) โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ

 

         ระบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland)

              บึงประดิษฐ์ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว แต่ต้องการลดปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสก่อนระบายออกสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง นอกจากนี้ระบบบึงประดิษฐ์ก็ยังสามารถใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสียในขั้นที่ 2 (Secondary Treatment) สำหรับบำบัดน้ำเสียจากชุมชนได้อีกด้วย ซึ่งข้อดีของระบบนี้ คือ ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการบำบัดสูง

 

         ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process)

              เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ระบบเแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่การเดินระบบประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด

 

         ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor)

              ลักษณะสำคัญของระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ เป็นระบบแอกทิเวเต็ดจ์สลัดจ์ โดยมีขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสียแตกต่างจากระบบตะกอนเร่งแบบอื่น ๆ คือ การเติมอากาศ (Aeration) และการตกตะกอน (Sedimentation) จะเป็นไปตามลำดับภายในถังปฏิกิริยาเดียวกัน

 

         ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch ; OD)

              เป็นระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge) ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเด่นของระบบคือ จะเป็นคลองแคบ ตื้น วนเป็นวงรีหรือวงกลม ที่ใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียและเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน ก่อนที่จะถูกแยกออกจากน้ำทิ้งโดยวิธีการตกตะกอน การเดินระบบบำบัดประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจาก จำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด

 

         ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor; RBC)

              ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพเป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาให้น้ำเสียไหลผ่านตัวกลางลักษณะทรงกระบอกซึ่งวางจุ่มอยู่ในถังบำบัด ตัวกลางทรงกระบอกนี้จะหมุนอย่างช้า ๆ เมื่อหมุนขึ้นพ้นน้ำและสัมผัสอากาศ จุลินทรีย์ที่อาศัยติดอยู่กับตัวกลางจะใช้ออกซิเจนจากอากาศย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียที่สัมผัสติดตัวกลางขึ้นมา และเมื่อหมุนจมลงก็จะนำน้ำเสียขึ้นมาบำบัดใหม่สลับกันเช่นนี้ตลอดเวลา

 

ตัวแปรสำหรับการควบคุมระบบ Activated sludge

         1. อายุตะกอน (Sludge Age) หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยที่ตะกอนจุลินทรีย์หมุนเวียน อยู่ในถังเติมอากาศการควบคุมกระทำได้โดยการนำตะกอนส่วนเกินออกจากระบบ ดังนั้นจึงสามารถควบคุมให้มีค่าคงทีได้ตามต้องการ โดยทั่วไปจะควบคุมให้มีระบบอายุตะกอน 5-15 วัน
         2. อัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ ( F/M ratio ) หมายถึง อัตราส่วนของน้ำหนักสารอินทรีย์ในน้ำเสียที่เข้าระบบ ( กิโลกรัมต่อวัน ) ต่อน้ำหนักตะกอนจุลินทรีย์ในระบบ ( กิโลกรัม ) โดยทั่วไปจะควบคุมให้ระบบมีค่า F/M ratio ระหว่าง 0.1-0.4 ต่อวัน

      คุณสมบัติของน้ำเสียมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในแง่อัตราการไหลและความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่เข้าสู่ระบบทำให้การควบคุมระบบ โดยใช้ F/M ratio ทำได้ยากและมีความไม่แน่นอน ในทางปฏิบัติจึง นิยมควบคุมระบบด้วยอายุตะกอนมากกว่า

 

ปัญหาที่มักพบในการควบคุมระบบ Activated sludge

         1. การลอยตัวของตะกอนในถังตกตะกอน สาเหตุเนื่องมาจาก ตะกอนตกอยู่ในก้นถังตกตะกอนนานเกินไปจนทำให้เกิดปฏิกิริยาชีวเคมีเปลี่ยนสารประกอบ ไนไตรท์และไนเตรตเป็นก๊าซไนโตรเจน ก๊าซที่เกิดขึ้นจะถูกกักอยู่ในตะกอนถ้ามีมากจะพาตะกอนลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ

         2. ตะกอนเบา ทำให้จมตัวลำบาก ในระบบ Activated sludge ที่มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงตะกอนจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศจะมีสีน้ำตาลแก่จับกัน เป็นก้อนใหญ่และจมตัวได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่เกิดตะกอนเบานั้นจะเป็นตะกอนละเอียดจมตัวได้ช้าและไม่อัดตัวแน่นสาเหตุ มีสองประการคือ อาจเกิดจากเชื้อราที่เป็นเส้นใย หรืออาจเกิดจากมีน้ำอยู่ในตะกอนระหว่างเซลของจุลินทรีย์มากทำให้ตะกอน มีความหนาแน่นเกือบเท่ากับน้ำจึงจมตัวได้ลำบาก

 

ปัญหายอดฮิตของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศชนิด Activated Sludge : AS
คือ “การเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ในระบบไม่ขึ้น” ซึ่งมีหลายสาเหตุ แต่จะส่วนใหญ่จะเกิดจาก “Wash Out”


         Wash Out หมายถึง การที่เชื้อในระบบหลุดออกไปกับน้ำเสียจำนวนมาก ส่งผลให้ระบบไม่มีเชื้อจุลินทรีย์และคุณภาพน้ำออกไม่ผ่านมาตรฐานโดยมากปัญหา Wash Out จะเกิดกับห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, ร้านอาหาร, อาคารสำนักงาน, โรงพยาบาลและสถานประกอบการที่เปิดกิจการช่วงเวลาหนึ่งของวัน


ปัญหาการ Wash Out ในระบบ AS เกิดจาก :

         1. มีการทิ้งน้ำเสียช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งมากเกินไป

         2. ขนาดถังพักน้ำเสียก่อนเข้าระบบบำบัด หรือ Equalization Tank มีขนาดไม่เหมาะสมและไม่มีปั๊มจ่ายน้ำเสียเข้าระบบ

         3. ขนาดถังตกตะกอน หรือ Sedimentation Tank มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เหมาะสมกับปริมาณน้ำเสีย

         4. การควบคุมระบบ Return Sludge ไม่เหมาะสม

         5. มีไขมันหรือน้ำมัน (Grease and Oil) เข้าสู่ระบบเติมอากาศจำนวนมาก


การตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

         1. เทียบปริมาณน้ำเสียที่เกิดกับชั่วโมงการทิ้งน้ำ เช่น ห้างสรรพสินค้าเปิดทำการ 12 ชม./วัน เกิดน้ำเสีย 120 ลบ.ม./วัน แสดงว่าน้ำเสียเข้าระบบ เฉลี่ยที่ 10 ลบ.ม./ชม. หากเป็นช่วง Peak Load อาจคิดน้ำเสียที่ 24-30 ลบ.ม./ชม.จะเห็นว่าน้ำเสียจริงๆไม่ได้เข้าระบบที่ 24 ชั่วโมง และ ไม่ได้เกิดน้ำเสียเท่ากันทุกช่วงเวลา

         2. ขนาดของถังพักน้ำเสีย (E.Q. Tank) ต้องมีขนาดพอเหมาะกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น (ในการบำบัดเราสามารถจ่ายน้ำเสียเข้าระบบหลังห้างปิดทำการได้ เพราะฉะนั้น E.Q. Tank จึงมีความสำคัญมาก)

         3. ปั๊มสูบน้ำเสียเข้าระบบ (E.Q. Pump) ต้องมีความเหมาะสม ในการจ่ายน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าระบบได้ 24 ชั่วโมง

         4. การจ่ายน้ำเสียเข้าระบบจากปั๊มต้องไม่มากกว่าขนาดถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) รับได้ ปกติถังตกตะกอนควรพักน้ำเสียได้มากกว่า 1 ชั่วโมง ขึ้นไป

         5. การสูบตะกอนย้อนกลับ (Return Sludge) ต้องเหมาะสมกับปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้น ไม่ควรเปิด Return Sludge ตลอดเวลา เพราะจะสูบแต่น้ำกลับไปบ่อเติมอากาศ ส่งผลให้ระยะเวลาการเติมอากาศ (HRT) ในบ่อเติมอากาศลดลงเวลามีน้ำเสียเข้าระบบพร้อมการสูบตะกอนกลับ

         6. ทำการตรวจเช็คและทำความสะอาดบ่อดักไขมัน พยายามอย่าให้มีไขมันเข้าระบบเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ลอยและไม่ตกตะกอน

         7. หากแก้ไขไม่ได้ อาจต้องปรับปรุงระบบบำบัด หรือ ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติม โดยสามารถติดต่อ ENCARE ได้จ้า ยินดีบริการตลอด 24 ชั่วโมง ^^

2. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Wastewater Treatment)

เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ แต่จะอาศัยสารประกอบอื่นเป็นตัวรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจนละลายน้ำ (dissolved oxygen) หรือออกซิเจนอิสระ กลไกการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศหรือออกซิเจน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ตามลำดับดังนี้

         - กระบวนการไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) โดยอาศัยเอนไซม์ (enzyme) ที่ถูกส่งออกมานอกเซลล์ เพื่อเปลี่ยนสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก

         - กระบวนการสร้างกรด (Acidogenesis) โดยแบคทีเรียสร้างกรด ซึ่งจะเปลี่ยนผลผลิตที่ได้จากฏิกิริยาไฮโดรไลซิสในขั้นตอนที่ 1 ไปเป็นกรดไขมันระเหย (volatile fatty acid; VFA)

         - กระบวนการสร้างกรดอะเซติกจากกรดไขมันระเหย (Acetogenesis) โดยแบคทีเรียกลุ่มอะซีโตเจนิก (Acetogenic bacteria) จะเปลี่ยนกรดไขมันระเหย ไปเป็นผลผลิตสำคัญในการสร้างก๊าซมีเทน ได้แก่ กรดอะเซติก กรดฟอร์มิก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจ

         - กระบวนการสร้างมีเทน (Methanogenesis) โดยผลผลิตที่ได้จากแบคทีเรียสร้างกรดในขั้นตอนที่ 3 จะถูกเปลี่ยนไปเป็นก๊าซมีเทนโดยแบคทีเรียกลุ่มสร้างมีเทน (Methanogenic bacteria) แบคทีเรียกลุ่มที่สร้างมีเทนนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ชนิดแรก คือ แบคทีเรียที่สร้างมีเทนจากคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจน (Hydrogenotrophic bacteria) โดยได้คาร์บอนมาจากคาร์บอนไดออกไซด์และได้พลังงานจากไฮโดรเจน ชนิดที่สอง คือ แบคทีเรียที่สร้างมีเทนจากกรดอะเซติก (Acetotrophic bacteria) ซึ่งใช้อะเซเตดเป็นตัวรับอิเล็กตรอน และใช้ไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงาน

 

ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีไม่ใช้อากาศ Anaerobic เป็นวิธีที่ไม่ต้องเติมออกซิเจนหรือนิยมเรียกว่า "ระบบไร้ออกซิเจนหรือถังหมัก"
ระบบนี้เริ่มนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้นเพราะประหยัดพลังงานในการเติมอากาศและยังได้พลังงานที่เกิดจากระบบ เช่น มีเทน (Methane gas)

 

         บ่อหมัก (Aerobic)

              อาจเป็นบ่อดินหรือบ่อคอนกรีตโดยอาจมีขนาดความลึกของบ่อตั้งแต่ 1-9 เมตร บ่อประเภทนี้จะเป็นบ่อที่รับน้ำเสียที่มีปริมาณ BOD (กก.ต่อวัน) มากๆ จนทำให้บ่อไม่สามารถผลิตออกซิเจนเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ โดยทั่วไปบ่อประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นบ่อสีดำ ถ้าพบว่าบ่อมีน้ำสีเขียวแสดงว่าบริเวณผิวชั้นบนจะมีการเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสงขึ้นในบ่อ ส่วนบริเวณก้นบ่อถ้าหากมีพืชน้ำจะเกิดกระบวนการ Aerobic ขึ้น ซึ่งลักษณะนี้นิยมเรียกว่า Facultative Pond โดยทั่วไปบ่อหมักจะมีเวลาเก็บกัก ตั้งแต่ 1-200 วัน บ่อประเภทนี้จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียขั้นแรกที่ต้องการลดหรือกำจัด BOD ลงไปส่วนหนึ่งก่อน เพื่อการประหยัดพลังงานในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ประสิทธิภาพในการกำจัด BOD ของบ่อหมักจะอยู่ในช่วงระหว่าง  20 -95% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของน้ำเสียด้วย

 

         บ่อเกรอะ (Septic Tank)

              บ่อเกรอะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียประเภท Anaerobic เช่นเดียวกัน เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดเหมาะสำหรับอาคารพักอาศัยส่วนบุคคล อาคารสำนักงาน ฯลฯ ที่มีปริมาณน้ำทิ้งไม่มากนัก ระบบนี้จะมีการก่อสร้างไม่ยุ่งยากนัก สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ไม่จำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการดูแลรักษาระบบแต่มีข้อเสียที่สำคัญคือ น้ำทิ้งไหลผ่านบ่อเกรอะแล้วจะยังมีความสกปรกอยู่มาก จึงต้องมีการบำบัดขั้นต่อไปอีก

 

         ถังปล่อยทิ้ง (Wash – out  Reactor)

              ระบบนี้มีลักษณะการทำงานเป็นระบบที่มีการไหลเวียนกลับแต่ไม่มีการแยกตะกอนออกจากน้ำ เช่น ไม่มีถังตกตะกอน จะใช้ระบบนี้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถแยกน้ำสลัดจ์กับน้ำในระบบได้ เช่น พวกสลัดจ์ ถ้าระบบนี้มีเวลาเก็บกักต่ำกว่าเวลาที่จุลชีพเพิ่มขึ้นผลก็คือระบบภายในถังหมักจะไม่มีตะกอนจุลชีพหลงเหลืออยู่ ซึ่งทำให้กระบวนการของ Anaerobic สิ้นสุดลง

 

         ระบบเอเอสแบบแอนแอโรบิก (Anaerobic Activated Sludge)

              ระบบนี้อาจเรียกอีกชื่อว่า กระบวนการสัมผัสแอนแอโรบิก (Anaerobic Contact Process) ระบบนี้จะมีถังปฎิกิริยา (ถังหมัก) และระบบแยกตะกอนซึ่งอาจใช้ ถังตกตะกอน ถังทำให้ลอย (Flotation) หรือการหมุนเหวี่ยง (Centrifugal) ข้อดีของระบบนี้คือ สามารถรับปริมาณ BOD สูงได้ดี ได้ผลพลอยได้เป็นก๊าซมีเทน และการเพิ่มขึ้นของน้ำสลัดจ์ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเอเอสแบบใช้ออกซิเจน ระบบเอเอสแบบแอนแอโรบิกนี้จะมีเวลาเก็บกักของน้ำเสียประมาณ 0.5 – 10 วัน ระดับอุณหภูมิภายในถังควรมีประมาณ 35 องศาเซลเซียส และจะใช้อัตราไหลเวียนกลับประมาณ 2 – 4 เท่าของปริมาณน้ำเสียไหลเข้า

 

         ถังแบบฟิล์มตรึง (Fixed – Film Reactor)

              ระบบนี้เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ตัวกลางบรรจุอยู่ภายในระบบ เพื่อให้มีอายุสลัดจ์หรือเวลาเก็บกักของสลัดจ์ยาวนาน แต่มีเวลาเก็บกักของน้ำเสียต่ำกว่า เพราะน้ำสลัดจ์จะไปเกาะบริเวณผิวตัวกลางยิ่งมีผิวขรุขระมาเท่าไหร่ก็จะยิ่งสามารถมีจำนวนสลัดจ์ (จำนวนต่อตารางเมตร) มากขึ้นด้วย ระบบนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

 

              1. ถังกรองไร้อากาศแบบไหลขึ้น (Up flow Anaerobic Filter)

                   จุลชีพที่บรรจุอยู่ในระบบจะทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ซึ่งตัวจุลชีพจะเกาะอยู่บริเวณผิวตัวกลาง และบางส่วนจะอาศัยอยู่ช่องว่างระหว่างตัวกลาง ทำให้ระบบนี้ไม่ต้องกวนน้ำเสียภายในถัง การย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบนี้จะใช้เวลาเก็บกักของน้ำเสียอาจมีตั้งแต่ 1 – 10 วัน โดยสามารถรับ COD ของน้ำเสียได้ตั้งแต่ 4-16 กก.COD/(ลบ.ม.วัน) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวกลางที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือพวกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ได้แก่ ก้อนหิน พลาสติก อิฐ ยาง ดินเผา เป็นต้น ซึ่งตัวกลางที่ใช้ดินเผาจะมีประสิทธิภาพในการทำงานของระบบดีมาก เนื่องจากมีพื้นที่ผิวขรุขระมาก ทำให้มีพื้นที่ผิวให้จุลินทรีย์เกาะได้มาก สำหรับขนาดของตัวกลางไม่ควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป ถ้ามีขนาดเลกเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาอุดตันขึ้นได้ง่าย แต่ถ้าใช้ตัวกลางขนาดใหญ่เกินไปอาจทำให้มีพื้นที่ผิวตัวกลางน้อยลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบบำบัดลดลง ในบางครั้งน้ำเสียที่ไหลเข้าระบบมีค่า BOD สูงกว่าปกติ ก็อาจแก้ไขได้โดยการสูบน้ำทิ้งที่ไหลผ่านระบบ Anaerobic Filter นี้แล้วกลับเข้าสูระบบอีกครั้งเพื่อทำให้ BOD ผสมมีปริมาณความเข้มข้นปกติ

 

              2. ถังกรองไร้อากาศแบบไหลลง (Down flow Anaerobic Filter)

                   จะมีตัวกลางบรรจุอยู่ในระบบเช่นกัน สำหรับระบบนี้จะมีปริมาณสารแขวนลอยไม่มากเท่ากับของระบบถังกรองไร้อากาศแบบไหลขึ้น (Up flow Anaerobic Filter) น้ำเสียที่ถูกบำบัดแล้วจะไหลไปทางส่วนของก้นถัง และน้ำทิ้งบางส่วนควรสูบกลับไปที่ระบบอีกครั้งเพื่อให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียดียิ่งขึ้นสำหรับข้อมูลอื่นๆ จะเหมือนกับของระบบถังกรองไร้อากาศแบบไหลขึ้น

 

              3. ถังกรองแบบฟลูอิดไดซ์ (Fluidise Bed Reactor)

                   ระบบน้ำเป็นระบบที่ได้มีการพัฒนามาจากระบบถังกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter) ซึ่งมีปัญหาด้านการอุดตันการเกิดไหลลัดวงจรและมีความสูญเสียความดัน (Head loss) ทำให้ได้มีการดัดแปลงโดยใช้ตัวกลางที่มีพื้นที่ผิวมากๆ โดยใช้ทราย, Anthracite, Activated carbon หรือ วัสดุอื่น ๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกับเม็ดทราย และให้ตัวกลางมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้สามารถป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการอุดตันได้ และจะทำให้ต้องการเวลาเก็บกักของน้ำเสียต่ำกว่ามาก

 

              4. ถังแบบชั้นสลัดจ์ (Sludge Blanket Reactor)

                   ระบบบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีการไหลขึ้น ซึ่งนิยมเรียกระบบนี้ว่า Up flow Anaerobic Sludge Blanket Treatment  (UASB) จะอาศัยตะกอนจุลชีพแบบแขวนลอยโดยที่หลังการดำเนินการได้ระยะเวลาหนึ่งจะเกิดตะกอนจุลชีพที่มีลักษณะเป็นเม็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม. ขึ้นภายในถังปฏิกิริยา ซึ่งมีคุณสมบัติในการตกตะกอนได้ดีมาก ระบบนี้มีประสิทธิภาพในการบำบัด BOD สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบบำบัดแบบไร้อากาศแบบอื่น ๆ ภายในระบบจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นน้ำและชั้นตะกอน จะมีระบบแยกน้ำใสภายในถังและมีระบบเก็บรวบรวมก๊าซที่ผลิตขึ้นมา ระบบนี้ต้องพยายามควบคุมระบบให้ได้ตะกอนที่มีลักษณะเป็นเม็ด จึงจะบอกได้ว่าระบบนี้ทำงานบางครั้งพบว่าจำเป็นต้องน้ำนำตะกอนที่เป็นเม็ดๆแล้วจากถังอื่นมาช่วยให้ระบบนี้ทำงานได้ดี

 

              5. ถังแบบแผ่นกั้น (Baffled Reactor)

                   ระบบบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีลักษณะเป็นถังที่มีแผ่นกั้นขวางหลายแผ่นวางตั้งไว้ในถังยาว การไหลของน้ำเข้าระบบจะเป็นในลักษณะไหลขึ้น ไหลลงสลับกันไปหลายๆครั้ง โดยอาจจะมีความเร็วในการไหลขึ้นประมาณ 0.2 – 0.4  ม./ชม.

การบำบัดน้ำเสียแบ่งออกเป็น 4 กระบวนการใหญ่ๆดังนี้      
 - การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการกายภาพ (Physical Wastewater Treatment Process)     
 - การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการเคมี (Chemical Wastewater Treatment Process)     
 - การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการชีวภาพ (Biological Wastewater Treatment Process)     
 - การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Wastewater Treatment Process) 
 
ก่อนที่จะทำการออกแบบ ก่อสร้าง สั่งซื้อ หรือควบคุม ระบบบำบัดน้ำเสียนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบนั้นๆเสียก่อน เช่น      
 - ต้องการบำบัดอะไรในน้ำเสีย     
 - ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียต่อหน่วย เช่น ___บาท/m3     
 - งบประมาณในการก่อสร้างระบบบำบัดฯ     
 - การกำจัดมลสารนั้นๆ ต้องแยกบำบัด หรือสามารถบำบัดรวมกันได้กับมลสารตัวอื่น     
 - พื้นที่ในการก่อสร้างระบบบำบัดฯ     
 - พื้นที่ในการควบคุมระบบบำบัดฯ     
 - พื้นที่ในการซ่อมบำรุงระบบบำบัดฯ     
 - วิธีการควบคุมระบบบำบัดฯ     
 - การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
 
 
บริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด นอกจากรับออกแบบก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว เรายังให้บริการทางด้านที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและบริการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทั้งน้ำ อากาศและการจัดการกากอุตสาหกรรม เรายังเป็นที่ปรึกษาด้ารสิ่งแวดล้อมอาทิ ตรวจสอบการทำงานของระบบบำบัดมลพิษ จัดทำรายงานการเข้าปฏิบัติงานและการตรวจสอบระบบบำบัด  ประเมินสภาพการทำงานของระบบบำบัดมลพิษ แนะแนวทาง WI ประเมินปัญหาและสาเหตุที่มีนัยสำคัญต่อระบบบำบัดมลพิษ แนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กรณีที่ระบบมีปัญหา ที่ปรึกษาด้านการปรับปรุงระบบบำบัดต่างๆ จัดทำรายงาน รว. ส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม ติดตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและแจ้งให้ทราบ บริการจัดอบรมด้านสิ่งแวดล้อมและระบบบำบัดน้ำเสีย
 
ปรึกษาเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียได้ที่ คุณ วรุตม์ จารุศิริ  Tel : 086 633 5025
 
ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลพิษที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสีย “น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว” เช่น น้ำจากการชำระล้างต่างๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงานน้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น หลักการจัดการน้ำเสียที่สำคัญ คือการนำน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย โดยทั่วไปการจัดการน้ำเสียจะประกอบด้วย                   
1. การรวบรวมน้ำเสีย (collection) 2. การบำบัดน้ำเสีย (treatment) 3. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ (reuse and reclamation) 
โดยชนิดและประเภทของน้ำเสียก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขบวนการที่นำน้ำไปใช้งานดังนั้นสารมลทินที่ปนเปื้อนก็จะมีชนิดประเภทและปริมาณที่แตกต่างกันออกไปซึ่งพอที่จะแยกตามประเภทของน้ำเสียออกได้เป็น 2 ประเภทตามการปนเปื้อนของสารมลทิน ได้แก่ อ่านต่อ...........
 
ระบบบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามชนิดของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ หรือใช้ออกซิเจน (Aerobic wastewater treatment) และการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic wastewater treatment) ได้แก่ ระบบ แอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge, AS) ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contractor, RBC) ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch, OD) ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon, AL) ระบบโปรยกรอง (Trickling Filter) ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Stabilization Pond) ระบบยูเอเอสบี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket, UASB) และ ระบบกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter, AF) เป็นต้น

บริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2559 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ ควบคุม ดูแลระบบบำบัดมลพิษรวมถึงงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยวิศวกรและนักวิชาการสิ่งแวดล้อมที่มากประสบการณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าของเรามากที่สุด อีกทั้งเรายังตระหนักถึงการลดใช้พลังงานและการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการบำบัดมลพิษไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า สารเคมี การซ่อมแซมอุปกรณ์และการกำจัดกากของเสีย จึงมั่นใจได้ว่าเราให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี
 
เรายึดหลักการ "การบำบัดมลพิษที่ดี มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม" มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของลูกค้าด้วยองค์ความรู้ที่ถูกต้องและการบริการอย่างเอาใจใส่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เรามีการอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ 

“การให้บริการและการบริหารจัดการงานด้านสิ่งแวดล้อม
ด้วยหลักวิชาการและความซื่อสัตย์ เพื่อความยั่งยืนสำหรับลูกค้าในการแข่งขันทางธุรกิจ”

บริการของเรา
1. ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Consultants)
2. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (Pollution Controllers)
3. งานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
4. ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (Operation and Start Up)
5. ตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (Examination and Efficiency Analysis)
6. ซ่อมแซมและบำรุงรักษา (Repair and Maintenance)
7. จัดอบรมและสัมมนา (Technical – Training Organizer)
 
รับออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้งและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียทั้งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำเสียอาคาร ชุมชน ให้เหมาะสมกับลักษณะน้ำเสียและงบประมาณ รวมถึงให้คำปรึกษาในการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียไปจนถึงงานโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย

ลักษณะน้ำเสียตามประเภทอุตสาหกรรม เช่น

อุตสาหกรรมอาหาร น้ำเสียจากอุตสาหกรรมประเภทนี้โดยปกติแล้วจะไม่มีสารอันตราย แต่จะมีความแตกต่างกันตามประเภทโรงงาน วัตถุดิบ กระบวนการผลิตและปริมาณผลผลิต ลักษณะโดยทั่วไปจะประกอบด้วย อินทรีย์วัตถุ, ตะกอนแขวนลอย, ปริมาณและลักษณะน้ำเสีย, น้ำที่ใช้ล้าง (บางครั้งเป็นน้ำร้อน) มักถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก, มักจะประกอบด้วยน้ำมัน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยเฉพาะพวกแป้งและเบียร์จะทำให้มีค่า BOD สูง

อุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหล็กกล้า เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในปริมาณสูง น้ำเสียเกิดจากกระบวนการทำความเย็นและทำความสะอาดสำหรับเตาหลอมถ่านโค้ก ประกอบด้วย แอมโมเนีย ไซยาไนด์ ฟีนอล ฯลฯ นอกจากนี้น้ำเสียที่มาจากกระบวนการกำจัดฝุ่นจากเตาหลอมจะประกอบด้วยของแข็งแขวนลอย (ฝุ่นของถ่านโค้กและแร่เหล็ก) และจากกระบวนการล้างด้วยกรดประกอบด้วย กรด เหล็ก และน้ำมัน

อุตสาหกรรมผลิตโลหะที่นอกเหนือไปจากเหล็ก สินแร่ดิบทองแดง ทองคำ และเงิน โดยปกติมักจะประกอบด้วยสารเจือปนพวกแคดเมียม ตะกั่ว สารหนู ฯลฯ สารเหล่านี้อาจจะถูกละลายออกมาในระหว่างกระบวนการผลิตหรืออยู่ในน้ำเสีย ซึ่งอาจจะตกค้างในดินหรือเกิดการปนเปื้อนในน้ำใต้ดินหากมีกระบวนการระบายน้ำเสียที่ไม่ได้มาตรฐานลงสู่ผิวดิน

อุตสาหกรรมการเคลือบโลหะ มีการใช้วัตถุดิบและสารเคมีหลายตัวในอุตสาหกรรม ดังนั้นในน้ำเสียจึงประกอบด้วยโลหะหนักหลายชนิด เช่น แคลเซียม สังกะสี ทองแดง ไซยาไนด์ โครเมี่ยมเฮ็กซาวาเล้นท์ กรด และด่าง ฯลฯ

อุตสาหกรรมเซรามิกส์และซีเมนต์ มีน้ำเสียที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์แขวนลอยที่มีสภาพเป็นด่าง ในส่วนของอุตสาหกรรมเซรามิกส์ยังมีสารจำพวกให้สี และสารพวกวัตถุอันตรายเจือปนอยู่ด้วย

CORE BUSINESS

1. การบริการที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Consultants) บริการที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและระบบบำบัดมลพิษให้กับโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงาน อาคาร โรงพยาบาล หมู่บ้าน คอนโดมิเนียมและโรงแรม เพื่อการควบคุมระบบบำบัดมลพิษที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แนะนำการปรับปรุง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงการช่วยสร้างวัฒนธรรมในการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

2. การบริการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (Pollution Controllers) บริการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศและผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม ในรูปแบบนิติบุคคล สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตาม “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545

3. งานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) งานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การออกแบบ การก่อสร้าง การปรับปรุง ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบผลิตก๊าซชีวภาพและระบบรีไซเคิลน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ โดยวิศวกรสิ่งแวดล้อม ระดับวุฒิวิศวกรและสามัญวิศวกร รวมถึงการให้คำปรึกษาในการคำนวณ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การตรวจรับงานและการบริหารโครงการ (Project Management)

4. การควบคุมและเริ่มเดินระบบบำบัดมลพิษ (Operation and Start Up) บริการควบคุมและเริ่มเดินระบบบำบัดน้ำเสียรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเคมี และระบบผลิตก๊าซชีวภาพโดยวิศวกร ผู้ชำนาญการและผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้าน เพื่อให้การบำบัดมลพิษมีประสิทธิภาพสูงสุดและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลระบบ รวมทั้งการตรวจสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ พร้อมการวางแผนเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ให้เครื่องจักรและอุปกรณ์สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน

5. การตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (Examination and Efficiency Analysis) บริการตรวจสอบ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักร อุปกรณ์ ตู้ควบคุม รวมถึงประสิทธิภาพระบบบำบัดมลพิษที่มีอยู่ โดยผู้เชี่ยวชาญและการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกต้อง และเชื่อถือได้ เพื่อให้ความมั่นใจต่อการควบคุมดูและระบบบำบัดมลพิษให้มีประสิทธิภาพและลดข้อร้องเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อม

6. การซ่อมแซมและบำรุงรักษา (Service and Maintenance) บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ภายในระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงการปรับปรุงระบบบำบัดมลพิษที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกำลังการผลิตของลูกค้าในอนาคต

7. การจัดอบรมและสัมมนา (Technical – Training Organizer) บริการจัดการอบรม การสัมมนาให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การควบคุมระบบบำบัดมลพิษ การแก้ไขปัญหา การปลูกจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากร และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตรงตามความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เข้าอบรม

การบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลทินที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสีย “น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว” เช่น น้ำจากการชำระล้างต่างๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงานน้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น 

หลักการจัดการน้ำเสียที่สำคัญ คือการนำน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย โดยทั่วไปการจัดการน้ำเสียจะประกอบด้วย

                 1. การรวบรวมน้ำเสีย (collection)
                   2. การบำบัดน้ำเสีย (treatment)
                   3. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ (reuse and reclamation)

โดยชนิดและประเภทของน้ำเสียก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขบวนการที่นำน้ำไปใช้งานดังนั้นสารมลทินที่ปนเปื้อนก็จะมีชนิดประเภทและปริมาณที่แตกต่างกันออกไปซึ่งพอที่จะแยกตามประเภทของน้ำเสียออกได้เป็น 2 ประเภทตามการปนเปื้อนของสารมลทิน ได้แก่

  1. น้ำเสียที่เป็นอินทรีย์สารซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
  2. น้ำเสียที่เป็นอนินทรีย์สารโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม

ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วจะต้องมีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิธีการบำบัดมีหลายวิธี ได้แก่

  • ระบบบำบัดทางกายภาพ (ระบบการกรอง การตกตะกอน ถังดักไขมัน)
  • ระบบบำบัดทางเคมี (การเพิ่ม-ลดประจุไฟฟ้าของอิเลคตรอน)
  • ระบบบำบัดชีวภาพ (แบบใช้ออกซิเจน และไม่ใช้ออกซิเจน)
  • ระบบการทำให้ระเหยด้วยความร้อน
  • ระบบบำบัดด้วยไฟฟ้า

Visitors: 276,671