ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์

         วิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่การเดินระบบประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด 

        มีการพัฒนาใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ระบบแบบกวนสมบูรณ์ (Completly Mix) กระบวนการปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization Process) ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) หรือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) เป็นต้น

         โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) และถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) โดยน้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีสลัดจ์อยู่ตามจำนวนที่ออกแบบไว้ สภาวะภายในถังเติมอากาศจะมีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์แบบแอโรบิค จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในที่สุด น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกสลัดจ์ออกจากน้ำใส สลัดจ์ที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติมอากาศใหม่เพื่อรักษาความเข้มข้นของสลัดจ์ในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นสลัดจ์ส่วนเกิน (Excess Sludge) ที่ต้องนำไปกำจัดต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้

 

ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์รูปแบบต่าง ๆ

         ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบกวนสมบูรณ์ (Completly Mixed Activated Sludge: CMAS) 

              ลักษณะสำคัญของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ จะต้องมีถังเติมอากาศที่สามารถกวนให้น้ำและสลัดจ์ที่อยู่ในถังผสมเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งถัง ระบบแบบนี้สามารถรับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (Shock Load) ได้ดี เนื่องจากน้ำเสียจะกระจายไปทั่วถึง และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในถังเติมอากาศก็มีค่าสม่ำเสมอทำให้จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่มีลักษณะเดียวกันตลอดทั้งถัง(Uniform Population)

         ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization Activated Sludge; CSAS) 

              ลักษณะสำคัญของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ จะแบ่งถังเติมอากาศออกเป็น 2 ถังอิสระจากกัน ได้แก่ ถังสัมผัส (Contact Tank) และถังย่อยสลาย (Stabilization Tank) โดยตะกอนที่สูบมาจากก้นถังตกตะกอนขั้นสองจะถูกส่งมาเติมอากาศใหม่ในถังย่อยสลาย จากนั้นตะกอนจะถูกส่งมาสัมผัสกับน้ำเสียในถังสัมผัส (Contact Tank) เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ในถังสัมผัสนี้ความเข้มข้นของสลัดจ์จะลดลงตามปริมาณน้ำเสียที่ผสมเข้ามาใหม่ น้ำเสียที่ถูกบำบัดแล้วจะไหลไปยังถังตกตะกอนขั้นที่สองเพื่อแยกตะกอนกับส่วนน้ำใส โดยน้ำใสส่วนบนจะถูกระบายออกจากระบบ และตะกอนที่ก้นถังส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับไปเข้าถังย่อยสลาย และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปทิ้ง ทำให้บ่อเติมอากาศมีขนาดเล็กกว่าบ่อเติมอากาศของระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์ทั่วไป

         ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch; OD) 

              ลักษณะสำคัญของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ รูปแบบของถังเติมอากาศจะมีลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม ทำให้น้ำไหลวนเวียนตามแนวยาว (Plug Flow) ของถังเติมอากาศ และรูปแบบการกวนที่ใช้เครื่องกลเติมอากาศตีน้ำในแนวนอน (Horizontal Surface Aerator) รูปแบบของถังเติมอากาศลักษณะนี้จะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า แอน็อกซิก (Anoxic Zone) ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนละลายในน้ำทำให้ไนเตรทไนโตรเจน (NO32-) ถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซไนโตรเจน (N2) โดยแบคทีเรียจำพวกไนตริฟายอิงแบคทีเรีย (Nitrosomonas Spp. และ Nitrobactor Spp.) ทำให้ระบบสามารถบำบัดไนโตรเจนได้

         ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) 

              ลักษณะสำคัญของระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ เป็นระบบแอกทิเวเต็ดจ์สลัดจ์ประเภทเติมเข้า-ถ่ายออก (Fill-and-Draw Activated Sludge) โดยมีขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสียแตกต่างจากระบบตะกอนเร่งแบบอื่น ๆ คือ การเติมอากาศ (Aeration) และการตกตะกอน (Sedimentation) จะดำเนินการเป็นไปตามลำดับภายในถังปฏิกิริยาเดียวกัน โดยการเดินระบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ 1 รอบการทำงาน (Cycle) จะมี 5 ช่วงตามลำดับ ดังนี้

         1. ช่วงเติมน้ำเสีย (Fill) นำน้ำเสียเข้าระบบ

         2. ช่วงทำปฏิกิริยา (React) เป็นการลดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย (BOD)

         3. ช่วงตกตะกอน (Settle) ทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ตกลงก้นถังปฏิกิริยา

         4. ช่วงระบายน้ำทิ้ง (Draw) ระบายน้ำที่ผ่านการบำบัด

         5. ช่วงพักระบบ (Idle) เพื่อซ่อมแซมหรือรอรับน้ำเสียใหม่

              โดยการเดินระบบสามารถเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในแต่ละช่วงได้ง่ายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการบำบัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์

การบำบัดน้ำเสียแบ่งออกเป็น 4 กระบวนการใหญ่ๆดังนี้      
 - การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการกายภาพ (Physical Wastewater Treatment Process)     
 - การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการเคมี (Chemical Wastewater Treatment Process)     
 - การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการชีวภาพ (Biological Wastewater Treatment Process)     
 - การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Wastewater Treatment Process) 
 
ก่อนที่จะทำการออกแบบ ก่อสร้าง สั่งซื้อ หรือควบคุม ระบบบำบัดน้ำเสียนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบนั้นๆเสียก่อน เช่น      
 - ต้องการบำบัดอะไรในน้ำเสีย     
 - ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียต่อหน่วย เช่น ___บาท/m3     
 - งบประมาณในการก่อสร้างระบบบำบัดฯ     
 - การกำจัดมลสารนั้นๆ ต้องแยกบำบัด หรือสามารถบำบัดรวมกันได้กับมลสารตัวอื่น     
 - พื้นที่ในการก่อสร้างระบบบำบัดฯ     
 - พื้นที่ในการควบคุมระบบบำบัดฯ     
 - พื้นที่ในการซ่อมบำรุงระบบบำบัดฯ     
 - วิธีการควบคุมระบบบำบัดฯ     
 - การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
 
 
บริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด นอกจากรับออกแบบก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว เรายังให้บริการทางด้านที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและบริการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทั้งน้ำ อากาศและการจัดการกากอุตสาหกรรม เรายังเป็นที่ปรึกษาด้ารสิ่งแวดล้อมอาทิ ตรวจสอบการทำงานของระบบบำบัดมลพิษ จัดทำรายงานการเข้าปฏิบัติงานและการตรวจสอบระบบบำบัด  ประเมินสภาพการทำงานของระบบบำบัดมลพิษ แนะแนวทาง WI ประเมินปัญหาและสาเหตุที่มีนัยสำคัญต่อระบบบำบัดมลพิษ แนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กรณีที่ระบบมีปัญหา ที่ปรึกษาด้านการปรับปรุงระบบบำบัดต่างๆ จัดทำรายงาน รว. ส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม ติดตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและแจ้งให้ทราบ บริการจัดอบรมด้านสิ่งแวดล้อมและระบบบำบัดน้ำเสีย
 
ปรึกษาเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียได้ที่ คุณ วรุตม์ จารุศิริ  Tel : 086 633 5025
 
ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลพิษที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสีย “น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว” เช่น น้ำจากการชำระล้างต่างๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงานน้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น หลักการจัดการน้ำเสียที่สำคัญ คือการนำน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย โดยทั่วไปการจัดการน้ำเสียจะประกอบด้วย                   
1. การรวบรวมน้ำเสีย (collection) 2. การบำบัดน้ำเสีย (treatment) 3. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ (reuse and reclamation) 
โดยชนิดและประเภทของน้ำเสียก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขบวนการที่นำน้ำไปใช้งานดังนั้นสารมลทินที่ปนเปื้อนก็จะมีชนิดประเภทและปริมาณที่แตกต่างกันออกไปซึ่งพอที่จะแยกตามประเภทของน้ำเสียออกได้เป็น 2 ประเภทตามการปนเปื้อนของสารมลทิน ได้แก่ อ่านต่อ...........
 
ระบบบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามชนิดของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ หรือใช้ออกซิเจน (Aerobic wastewater treatment) และการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic wastewater treatment) ได้แก่ ระบบ แอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge, AS) ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contractor, RBC) ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch, OD) ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon, AL) ระบบโปรยกรอง (Trickling Filter) ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Stabilization Pond) ระบบยูเอเอสบี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket, UASB) และ ระบบกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter, AF) เป็นต้น

บริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2559 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ ควบคุม ดูแลระบบบำบัดมลพิษรวมถึงงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยวิศวกรและนักวิชาการสิ่งแวดล้อมที่มากประสบการณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าของเรามากที่สุด อีกทั้งเรายังตระหนักถึงการลดใช้พลังงานและการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการบำบัดมลพิษไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า สารเคมี การซ่อมแซมอุปกรณ์และการกำจัดกากของเสีย จึงมั่นใจได้ว่าเราให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี
 
เรายึดหลักการ "การบำบัดมลพิษที่ดี มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม" มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของลูกค้าด้วยองค์ความรู้ที่ถูกต้องและการบริการอย่างเอาใจใส่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เรามีการอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ 

“การให้บริการและการบริหารจัดการงานด้านสิ่งแวดล้อม
ด้วยหลักวิชาการและความซื่อสัตย์ เพื่อความยั่งยืนสำหรับลูกค้าในการแข่งขันทางธุรกิจ”

บริการของเรา
1. ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Consultants)
2. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (Pollution Controllers)
3. งานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
4. ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (Operation and Start Up)
5. ตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (Examination and Efficiency Analysis)
6. ซ่อมแซมและบำรุงรักษา (Repair and Maintenance)
7. จัดอบรมและสัมมนา (Technical – Training Organizer)
 
รับออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้งและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียทั้งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำเสียอาคาร ชุมชน ให้เหมาะสมกับลักษณะน้ำเสียและงบประมาณ รวมถึงให้คำปรึกษาในการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียไปจนถึงงานโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย

ลักษณะน้ำเสียตามประเภทอุตสาหกรรม เช่น

อุตสาหกรรมอาหาร น้ำเสียจากอุตสาหกรรมประเภทนี้โดยปกติแล้วจะไม่มีสารอันตราย แต่จะมีความแตกต่างกันตามประเภทโรงงาน วัตถุดิบ กระบวนการผลิตและปริมาณผลผลิต ลักษณะโดยทั่วไปจะประกอบด้วย อินทรีย์วัตถุ, ตะกอนแขวนลอย, ปริมาณและลักษณะน้ำเสีย, น้ำที่ใช้ล้าง (บางครั้งเป็นน้ำร้อน) มักถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก, มักจะประกอบด้วยน้ำมัน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยเฉพาะพวกแป้งและเบียร์จะทำให้มีค่า BOD สูง

อุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหล็กกล้า เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในปริมาณสูง น้ำเสียเกิดจากกระบวนการทำความเย็นและทำความสะอาดสำหรับเตาหลอมถ่านโค้ก ประกอบด้วย แอมโมเนีย ไซยาไนด์ ฟีนอล ฯลฯ นอกจากนี้น้ำเสียที่มาจากกระบวนการกำจัดฝุ่นจากเตาหลอมจะประกอบด้วยของแข็งแขวนลอย (ฝุ่นของถ่านโค้กและแร่เหล็ก) และจากกระบวนการล้างด้วยกรดประกอบด้วย กรด เหล็ก และน้ำมัน

อุตสาหกรรมผลิตโลหะที่นอกเหนือไปจากเหล็ก สินแร่ดิบทองแดง ทองคำ และเงิน โดยปกติมักจะประกอบด้วยสารเจือปนพวกแคดเมียม ตะกั่ว สารหนู ฯลฯ สารเหล่านี้อาจจะถูกละลายออกมาในระหว่างกระบวนการผลิตหรืออยู่ในน้ำเสีย ซึ่งอาจจะตกค้างในดินหรือเกิดการปนเปื้อนในน้ำใต้ดินหากมีกระบวนการระบายน้ำเสียที่ไม่ได้มาตรฐานลงสู่ผิวดิน

อุตสาหกรรมการเคลือบโลหะ มีการใช้วัตถุดิบและสารเคมีหลายตัวในอุตสาหกรรม ดังนั้นในน้ำเสียจึงประกอบด้วยโลหะหนักหลายชนิด เช่น แคลเซียม สังกะสี ทองแดง ไซยาไนด์ โครเมี่ยมเฮ็กซาวาเล้นท์ กรด และด่าง ฯลฯ

อุตสาหกรรมเซรามิกส์และซีเมนต์ มีน้ำเสียที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์แขวนลอยที่มีสภาพเป็นด่าง ในส่วนของอุตสาหกรรมเซรามิกส์ยังมีสารจำพวกให้สี และสารพวกวัตถุอันตรายเจือปนอยู่ด้วย

CORE BUSINESS

1. การบริการที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Consultants) บริการที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและระบบบำบัดมลพิษให้กับโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงาน อาคาร โรงพยาบาล หมู่บ้าน คอนโดมิเนียมและโรงแรม เพื่อการควบคุมระบบบำบัดมลพิษที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แนะนำการปรับปรุง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงการช่วยสร้างวัฒนธรรมในการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

2. การบริการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (Pollution Controllers) บริการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศและผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม ในรูปแบบนิติบุคคล สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตาม “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545

3. งานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) งานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การออกแบบ การก่อสร้าง การปรับปรุง ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบผลิตก๊าซชีวภาพและระบบรีไซเคิลน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ โดยวิศวกรสิ่งแวดล้อม ระดับวุฒิวิศวกรและสามัญวิศวกร รวมถึงการให้คำปรึกษาในการคำนวณ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การตรวจรับงานและการบริหารโครงการ (Project Management)

4. การควบคุมและเริ่มเดินระบบบำบัดมลพิษ (Operation and Start Up) บริการควบคุมและเริ่มเดินระบบบำบัดน้ำเสียรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเคมี และระบบผลิตก๊าซชีวภาพโดยวิศวกร ผู้ชำนาญการและผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้าน เพื่อให้การบำบัดมลพิษมีประสิทธิภาพสูงสุดและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลระบบ รวมทั้งการตรวจสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ พร้อมการวางแผนเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ให้เครื่องจักรและอุปกรณ์สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน

5. การตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (Examination and Efficiency Analysis) บริการตรวจสอบ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักร อุปกรณ์ ตู้ควบคุม รวมถึงประสิทธิภาพระบบบำบัดมลพิษที่มีอยู่ โดยผู้เชี่ยวชาญและการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกต้อง และเชื่อถือได้ เพื่อให้ความมั่นใจต่อการควบคุมดูและระบบบำบัดมลพิษให้มีประสิทธิภาพและลดข้อร้องเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อม

6. การซ่อมแซมและบำรุงรักษา (Service and Maintenance) บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ภายในระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงการปรับปรุงระบบบำบัดมลพิษที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกำลังการผลิตของลูกค้าในอนาคต

7. การจัดอบรมและสัมมนา (Technical – Training Organizer) บริการจัดการอบรม การสัมมนาให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การควบคุมระบบบำบัดมลพิษ การแก้ไขปัญหา การปลูกจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากร และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตรงตามความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เข้าอบรม

การบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลทินที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสีย “น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว” เช่น น้ำจากการชำระล้างต่างๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงานน้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น 

หลักการจัดการน้ำเสียที่สำคัญ คือการนำน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย โดยทั่วไปการจัดการน้ำเสียจะประกอบด้วย

                 1. การรวบรวมน้ำเสีย (collection)
                   2. การบำบัดน้ำเสีย (treatment)
                   3. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ (reuse and reclamation)

โดยชนิดและประเภทของน้ำเสียก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขบวนการที่นำน้ำไปใช้งานดังนั้นสารมลทินที่ปนเปื้อนก็จะมีชนิดประเภทและปริมาณที่แตกต่างกันออกไปซึ่งพอที่จะแยกตามประเภทของน้ำเสียออกได้เป็น 2 ประเภทตามการปนเปื้อนของสารมลทิน ได้แก่

  1. น้ำเสียที่เป็นอินทรีย์สารซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
  2. น้ำเสียที่เป็นอนินทรีย์สารโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม

ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วจะต้องมีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิธีการบำบัดมีหลายวิธี ได้แก่

  • ระบบบำบัดทางกายภาพ (ระบบการกรอง การตกตะกอน ถังดักไขมัน)
  • ระบบบำบัดทางเคมี (การเพิ่ม-ลดประจุไฟฟ้าของอิเลคตรอน)
  • ระบบบำบัดชีวภาพ (แบบใช้ออกซิเจน และไม่ใช้ออกซิเจน)
  • ระบบการทำให้ระเหยด้วยความร้อน
  • ระบบบำบัดด้วยไฟฟ้า

Visitors: 276,682